หมู่ที่ 10 บ้านประตูโขง
ประวัติหมู่บ้านประตูโขง
สมัยก่อนมีการทำไร่ทำนา ชาวบ้านจึงมารวมกันอยู่เป็นหมู่บ้าน ด้วยความสามัคคี เอื้อเฟื้อเกื้อกลูต่อกัน ดำเนินชีวิตด้วยความขยันขันแข็ง สภาพทางภูมิศาสตร์มีความแห้งแล้ง ประกอบอาชีพทำไร่ทำนา เลี้ยงปศุสัตว์ เลี้ยงโค กระบือ ชื่อบ้านประตูโขงมีที่มาจากซุ้มประตูวัดประตูโขง ซึ่งมีผู้บุกเบิกในสมัยแรก ๆ มาเจอและได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามซุ้มประตูที่พบ ผู้ใหญ่ ผู้นำชุมชนผู้ใหญ่บ้านในอดีตคือนายมานพ ยอดเมธา และนายประถม มณีขัติ โดยปัจจุบันมี นายธรรมนูญ สิงห์คำวัง เป็นผู้ใหญ่บ้าน
บ้านประตูโขง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลำพูนอยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอเมืองลำพูน เป็นระยะทาง 10 กิโลเมตร
มีประชากรทั้งหมด 821 คน เป็นชาย 371 คน หญิง 450 คน จำนวนหลังคาเรือน 565 หลังคาเรือน
มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลและอำเภอข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านสิงห์เคิ่ง
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านร่องส้าว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านหนองบังตำบลป่าสัก
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านพระยืนตำบลเวียงยอง
ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านโดยทั่วไปจะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และทำนาเป็นอาชีพหลัก
สภาพทางสังคม
ประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธและปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีไทย มีวัด 1 แห่ง คือวัดแม่ยาก มีพื้นที่ในการทำเกษตรกรรมประมาณ 40 ไร่ พื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว และลำไย
การคมนาคมขนส่ง
ถนนสายหลักของหมู่บ้านคือ เชียงใหม่ – ลำปาง ถนนภายในหมู่บ้านปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นถนนคอนกรีต
ประเพณีและวัฒนธรรม
ภายในชุมชนมีการร่วมกันจัดทำประเพณีทางพุทธศาสนา เช่น แห่เทียนในวันเข้าพรรษา และประเพณีสงกรานต์
การให้บริการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
คือ มีน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภคน้ำใช้เพื่อการเกษตร การระบายน้ำ โรงเรียนระดับประถม ห้องสมุดประชาชน มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน ไฟฟ้า โทรศัพท์สาธารณะ ศูนย์ฝึกอาชีพ
สถานที่สำคัญ
วัดประตูโขง ตั้งอยู่เลขที่ 71 บ้านประตูโขง หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ 5 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา
อาณาเขต
ทิศเหนือ ประมาณ 188 เมตร ติดลำเหมือง
ทิศใต้ ประมาณ 197 เมตร ติดแม่น้ำ
ทิศตะวันออก ประมาณ 27 วา ติดถนนสาธารณะ
ทิศตะวันตก ประมาณ 22 เมตร ติดที่ดินเอกชน
ภายในบริเวณวัดประตูโขงประกอบด้วย อุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ กุฎิสงฆ์ และโรงฉัน มีปูชนียวัตถุ ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปและสลักอิฐศิลาแดง (ศิลปะเชียงแสน) และเจดีย์
วัดประตูโขง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2416 ตามประวัติวัดแจ้งว่า สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. 2368 โดยมี พญาพรหม พ่อเฒ่าเชือน พ่อเฒ่าคำ ได้อพยพจากบ้านหนองเส้ง เพื่อหาที่ทำกินได้มาพบป่าร้างแห่งหนึ่ง เห็นว่าเป็นที่เหมาะสมจึงช่วยแพ้วถางป่า เพื่อทำไร่ทำนา ลำได้พบซากซุ้มประตูวัดและพระพุทธรูปศิลาแลงถูกเถาวัลย์ปกคลุมอยู่พ่อเฒ่าท้าวจึงได้ความร่วมมือจากชาวบ้านช่วยกันสร้างวัดขึ้น และเรียกซื่อวัดตามซื่อซุ้มประตูวัดเข้าวัดว่า ประตูโขง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีม เมื่อ พ.ศ. 2421 ปัจจุบันมี พระธีระศักดิ์ ธีรสกฺโก เป็นเจ้าอาวาส