ข้อมูลพื้นฐานตำบล
เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2537 ได้มีพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นเป็นนโยบายการกระจายอำนาจการปกครองสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีฐานะเป็นนิติบุคคล และ ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 3 มีนาคม 2538 และตำบลบ้านกลางได้รับการแต่งตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ต่อมาได้มีการเลือกสมาชิกหมู่บ้านละ 2 คน ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2538 และกำหนดให้ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน แพทย์ประจำตำบลเป็นสมาชิกโดนตำแหน่ง และใน 4 ปีแรก ให้นายเมืองคำ เรือนดล เป็นประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลให้เป็นไปตามมติข้อบังคับ และแผนการพัฒนาตำบลและรับผิดชอบการบริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบลต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งดำรงตำแหน่งในช่วงปี พ.ศ.2538 – 2542
ต่อมาได้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางขึ้นในช่วงปี พ.ศ.2542 – 2546 จากหมู่บ้านละ 2 คน และคัดเลือกผู้บริหารท้องถิ่นขึ้น คือ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการบริหารใหม่ ผลปรากฏว่า นายประสิทธิ์ จันทกลาง ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จนกระทั่งครบวาระ เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 และได้จัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 24 สิงหาคม 2546 โดยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลฯ ที่ได้รับการเลือกตั้ง ทั้ง 22 ท่าน ได้คัดเลือกผู้บริหารท้องถิ่น ผลปรากฏว่า นายประสิทธิ์ จันทกลาง ได้รับคะแนนเสียงจากสมาชิกสภาฯให้ดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ในช่วงปี พ.ศ. 2546 – 2550 หลังจากนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ได้ยกฐานะจาก องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นเทศบาลตำบล เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2550 และได้จัดให้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง และสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านกลาง ซึ่งเป็นการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2550 ผลปรากฏว่า นายวิทยากร เขื่อนแก้ว ได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี ในช่วงปี พ.ศ. 2550 – 2554 และการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2555 ดร.ประสิทธิ์ จันทกลาง ได้รับเลือกตั้ง เป็นนายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง จนกระทั่ง วันที่ 28 มีนาคม 2564 ได้มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลตำบลบ้านกลาง ผลปรากฏว่า นายสอน อิ่นแก้ว ได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีตำบลบ้านกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2564 จนถึงปัจจุบัน
สภาพทั่วไป
1. ที่ตั้งของตำบล
เทศบาลตำบลบ้านกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 201 หมู่ 9 ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนืออำเภอเมืองลำพูน อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองลำพูน จ.ลำพูน ประมาณ 10 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน
ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลป่าสัก ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน
ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลมะเขือแจ้ ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน
ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำบลเหมืองง่า ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน
2. ลักษณะภูมิประเทศ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำกวงฝั่งตะวันออก มีลักษณะลาดต่ำมาทางทิศตะวันตก จากแนวป่าเขาแม่ธิ – แม่สาร มีลำน้ำไหลผ่าน 3 สาย คือ ลำน้ำแม่ตีบ ลำน้ำแม่ยาก และลำน้ำร่องส้าว เป็นเขตพื้นที่เป้าหมายของการส่งน้ำโดยคลองชลประทานแม่กวง และเป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ
3. ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศของตำบลบ้านกลาง แบ่งออกได้ 3 ฤดู คือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ย 33 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนของทุกปี ปริมาณน้ำฝน 103.25 มิลลิลิตร
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนของทุกปี อุณหภูมิเฉลี่ย 25 องศาเซลเซียส
4. ลักษณะของแหล่งน้ำ
ลำน้ำ,ลำห้วย จำนวน 3 สาย
บึง หนอง และอื่นๆ จำนวน 5 แห่ง
เขตการบริหาร
ตำบลบ้านกลางในปัจจุบัน มีพื้นที่ทั้งหมด 18.31 ตารางกิโลเมตรอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมือง จ.ลำพูน ประมาณ 10 กิโลเมตร อาณาเขตทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน ,ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลศรีบัวบาน และตำบลป่าสักอำเภอเมืองลำพูน, ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน ,ทิศตะวันตกติดต่อกับตำบลเหมืองง่า และ ตำบลเวียงยอง อำเภอเมืองลำพูน จำนวนหมู่บ้าน มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 บ้านพญาผาบ
หมู่ 2 บ้านท่าล้อ – ศรีคำ
หมู่ 3 บ้านขี้เหล็ก
หมู่ 4 บ้านสันป่าฝ้าย
หมู่ 5 บ้านศรีชุม
หมู่ 6 บ้างสิงห์เคิ่ง
หมู่ 7 บ้านร่องส้าว
หมู่ 8 บ้านแม่ยาก
หมู่ 9 บ้านกลาง
หมู่ 10 บ้านประตูโขง
หมู่ 11 บ้านหอชัย
หมู่ 12 บ้านแจ่มพัฒนา
พื้นที่ของตำบล
ตำบลบ้านกลางมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 18.31 ตารางกิโลเมตร 11,446.25 ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตร 4,483 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 48.86 ของพื้นที่ทั้งหมด มีประชากรทั้งสิ้น 11,505 คน 11,277 ครัวเรือน แยกเป็นชาย 5,323 คน แยกเป็นหญิง 6,182 คน รายได้เฉลี่ย 35,565 บาท/ครัวเรือน/ปี
* ที่มาข้อมูล : สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ้านกลาง ณ เดือนพฤษภาคม 2565
การประกอบอาชีพ
อาชีพในภาคเกษตรกรรม ได้แก่ ทำนา ทำสวนลำไย และการเลี้ยงสัตว์
อาชีพนอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่ การทำอุตสาหกรรมในครัวเรือน (ตู้เสื้อผ้า, ตู้ใส่กับข้าวอลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์) ค้าขาย
รับจ้างทั่วไป รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ทำธุรกิจส่วนตัว เจ้าของสถานประกอบกิจการ หอพัก บ้านเช่า อพาร์ตเม้นท์ เป็นต้น